เรียนภาษาอิตาลี วันที่ 79

บทเรียน

นักเขียนรับเชิญคนพิเศษ – คุณ สรินยา วิทยาอารีย์กุล (ครูยา)

เรียนภาษาอิตาลี วันที่ 79

สวัสดีค่ะ ในวิดีโอที่ 54 นี้ ครูเวโรนิค่ะจะสอนเกี่ยวกับเรื่องการใช้ i pronomi relativi คำว่า con cui, tra cui และ per cui ค่ะ
กดที่ลิ้งค์นี้ แล้วก็ดูวิดีโอก่อนเลยค่ะ ถ้าไม่เข้าใจอะไรก็ค่อยกลับมาดูคำแปลทีหลังค่ะ

Lezione 54
บทเรียนที่ 54
– Ciao a tutti!!!
สวัสดีค่ะทุกๆ คน!!!
– E ancora tanti auguri!!!
และขออวยพรอีกครั้งค่ะ!!!
– Come perché?
อย่างไร ทำไมคะ
– Perché questa è la primissima lezione del nuovo anno!
เพราะว่านี่คือบทเรียนแรกล่าสุดของปีใหม่นี้ค่ะ
– Auguri!
โชคดีมีชัยค่ะ!
– Questa è la lezione 54 del livello B1.
นี่คือบทเรียนที่ 54 ของระดับ B1 ค่ะ
– Ricordate ragazzi che per seguire questo, questo corso dovete avere il livello adeguato che è il B1.
พวกเธอจำกันไว้นะคะเพื่อนๆ ถ้าจะเรียนในระดับนี้ พวกเธอจะต้องอยู่ระดับที่เหมาะสม นั่นก็คือระดับ B1 ค่ะ
– Quindi intermedio.
ดังนั้น ระดับกลางค่ะ
– Benissimo.
ดีมากที่สุดค่ะ
– Quindi l’altra volta era lezione 53, l’ultima del vecchio anno, in cui ho fatto, vi ricordate, una lista di buoni propositi.
ดังนั้น ครั้งที่แล้ว คือบทเรียนที่ 53 ค่ะ เป็นบทเรียนสุดท้ายของปีเก่า ซึ่งฉันได้ทำไว้แล้ว พวกเธอจำกันได้ไหมคะ มันคือรายการเกี่ยวกับความตั้งใจดีๆ ต่างๆ อ่ะค่ะ
– E io comunque stavolta, come sempre trovo l’occasione, il pretesto per brindare.
และฉันในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ก็อย่างเช่นเคยค่ะ ฉันก็จะหาโอกาส หาข้ออ้างเพื่อการดื่มฉลองค่ะ
– Io alla fine del vecchio anno ho fatto tanti buoni propositi per l’anno che verrà.
ตอนท้ายของปีเก่า ฉันก็ได้เขียนพวกความตั้งใจดีๆ ต่างๆ สำหรับปีที่จะมาถึงไว้ด้วยค่ะ
– Vi ricordate?
พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Vi ricordate il punto 9?
พวกเธอจำข้อที่ 9 กันได้ไหมคะ
– Quindi ho fatto una lista di 10 buoni propositi.
คือ ฉันได้ทำไว้ถึง 10 รายการเกี่ยวกับความตั้งใจดีๆ อ่ะค่ะ
– Il punto 9, bravi ve lo ricordate, era buttar via le cose vecchie per far spazio alle cose nuove.
ข้อที่ 9 เก่งมากค่ะ พวกเธอจำมันได้ ก็คือการทิ้งสิ่งของเก่าๆ เพื่อจะได้มีพื้นที่ว่างสำหรับสิ่งของใหม่ๆ ค่ะ
– Eh sì, eh… oggi mi ritrovo.
ใช่ค่ะ เอิม… วันนี้ฉันก็พบตัวเอง
– Allora oggi… ieri era… allora oggi è due gennaio.
เอาหล่ะค่ะ วันนี้… เมื่อวานตอนนั้น… เอาหล่ะค่ะ วันนี้คือวันที่สอง เดือนมกราคมค่ะ
– Ieri era 1 gennaio e mi sono riposata, rilassata, diciamo dopo i festeggiamenti.
เมื่อวานนี้ มันเป็นวันที่ 1 เดือนมกราคม และฉันก็ได้ให้ตัวเองพักผ่อน และผ่อนคลายไปแล้ว ก็พูดได้ว่า หลังจากงานเลี้ยงฉลองต่างๆ อ่ะค่ะ
– Oggi è 2 e ho ripreso a lavorare.
วันนี้เป็นวันที่ 2 และฉันก็ได้กลับมาทำงานค่ะ
– E ho fatto questo.
และฉันก็ได้ทำสิ่งนี้ค่ะ
– Ho guardato un po’ in casa perché, come vi ho detto, io ho tante cose in casa, troppe, troppe, troppe.
ฉันก็ได้มองภายในบ้านนิดหน่อย เพราะว่า ก็อย่างที่ฉันได้บอกกับพวกเธอไปแล้วว่า ฉันมีสิ่งของมากมายภายในบ้าน เยอะแยะมากมายเกินไปค่ะ
– Eh… rischio di andare io via di casa per far spazio alle tante cose.
เอิม… ฉันก็เสี่ยงที่จะต้องออกไปอยู่ข้างนอก เพื่อให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับการวางของพวกนี้อ่ะค่ะ
– E qui, io mi trovo per esempio in cucina, io sto iniziando dalla cucina, con diverse cose e devo chiedere consiglio a voi.
และที่นี่ ฉันอยู่ที่ ตัวอย่างเช่น ในห้องครัวค่ะ ฉันก็จะเริ่มจากห้องครัว กับสิ่งของมากมายหลายอย่าง และฉันจะต้องขอคำแนะนำกับพวกเธอค่ะ
– Devo pensare prima di tutto alle cose di cui ho bisogno, che mi servono veramente.
ก่อนอื่นฉันต้องคิดถึงพวกสิ่งของที่ฉันต้องการ ของที่ฉันใช้มันจริงๆ อ่ะค่ะ
– Em… e quindi le cose alle quali non posso fare a meno.
อืม… และก็พวกสิ่งของที่ฉันไม่มีไม่ได้
– E diciamo eliminare quelle di cui non ho bisogno.
ก็พูดได้ว่า ทิ้งสิ่งของซึ่งฉันไม่จำเป็นต้องใช้ค่ะ
– Allora iniziamo, ve l’ho detto iniziamo dalla cucina.
เอาหล่ะค่ะ พวกเรามาเริ่มกันค่ะ ฉันได้บอกมันกับพวกเธอไปแล้วว่า พวกเรามาเริ่มกันที่ห้องครัวค่ะ
– Per esempio, ho tanti scolapasta.
ตัวอย่างเช่น ฉันมีกระชอนเยอะมาก ค่ะ
– Che cosa sono gli scolapasta?
พวกกระชอนมันคืออะไรคะ

– Sì, ricordate la lezione 14?
ค่ะ พวกเธอจำบทเรียนที่ 14 กันได้ไหมคะ
– Quando ho fatto vedere che per preparare la pasta ho bisogno di uno scolapasta, cioè per eliminare l’acqua dalla pasta.
ตอนที่ฉันได้ทำให้พวกเธอดูเกี่ยวกับการเตรียมพาสต้า ฉันจำเป็นต้องใช้กระชอน เพื่อเทน้ำออกจากพาสต้าค่ะ
– Vediamo un po’.
พวกเรามาดูกันนิดนึงค่ะ
– Ho questo qua che però mi serve, di cui ho molto bisogno perché, perché ha anche il manico, e quindi è utile anche per lavare le verdure.
ฉันมีอันนี้ตรงนี้ที่ฉันต้องใช้มัน ซึ่งฉันมีความจำเป็นต้องใช้มากๆ เพราะว่า เพราะว่ามันมีที่จับด้วยค่ะ และดังนั้น มันมีประโยชน์สำหรับการล้างผักด้วยค่ะ
– Quindi questo lo tengo.
ดังนั้น อันนี้ ฉันก็จะเก็บไว้
– Questo ha i manici quindi per esempio sì, sì, sì, quindo ne ho bisogno quando, quando preparo tanta pasta.
อันนี้มีที่จับสองข้าง ดังนั้น ตัวอย่างเช่น ใช่ค่ะ ใช่ ใช่ ดังนั้น ฉันจำเป็นต้องใช้มันตอนที่ฉันต้องทำพาสต้าจำนวนมากค่ะ
– È pesante, questo lo stesso.
คือมันหนักค่ะ สิ่งนี้ก็ด้วยค่ะ
– Sì, questi mi servono.
ใช่ค่ะ พวกนี้ฉันใช้มันค่ะ
– Questo è utile specialmente quando preparo il riso, perché ha i buchi più piccoli.
อันนี้มันมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเวลาที่ฉันเตรียมข้าว เพราะว่ามันมีรูที่เล็กกว่าค่ะ
– Sì sì, ragazzi, mi servono tutti.
ใช่ค่ะ ใช่ เพื่อนๆ คะ ฉันใช้มันทั้งหมดเลยค่ะ
– Eh lo sapevo.
เอิม ตอนนั้นฉันก็รู้อยู่แล้ว ว่าจะทิ้งอะไรไม่ได้แน่ๆ เลยค่ะ
– Quindi questi, bene bene, questi li tengo.
ดังนั้นพวกนี้ ดีค่ะ ดีๆ พวกนี้ฉันเก็บมันเอาไว้ค่ะ
– Va benissimo.
เยี่ยมมากค่ะ
– Allora poi, vediamo un po’ che cos’ho.
เอาหล่ะค่ะ แล้วพวกเราก็มาดูกันอีกนิด ว่าฉันมีอะไรอีกนะ
– Em… ho tante pentole, tra cui anche, tra le quali le padelle antiaderente, che sono utilissime e indispensabili in cucina.
อืม… ฉันมีหม้อมากมาย ซึ่งก็มีพวกกระทะเทฟล่อนอีกด้วยค่ะ ที่พวกมันมีประโยชน์มากๆ ที่ขาดไม่ได้จริงๆ ในห้องครัวนี้ค่ะ
– Tra cui anche i tegami.
ซึ่งก็มีพวกหม้อใบเล็กอีกด้วยค่ะ
– Eh sì, sì, sì, la pentola grande per la pasta.
ใช่ค่ะ ใช่ ใช่ หม้อใบใหญ่สำหรับพาสต้า
– Sì, di queste cose mi serve, mi serve tutto quanto.
ใช่ค่ะ สิ่งของพวกนี้ฉันใช้มันค่ะ ฉันใช้มันทั้งหมดเลยค่ะ
– Poi vediamo i piatti.
แล้วพวกเราก็มาดูพวกจานต่างๆ กันค่ะ
– Allora, ho diversi servizi di piatti.
เอาหล่ะค่ะ ฉันมีจานมากมายหลายชุดเลยค่ะ
– Em… vedete?
อืม… พวกเธอเห็นกันไหมคะ
– Il piatto piano e il piatto fondo.
จานแบนและจานก้นลึกค่ะ
– Sono tutti regali di mia madre a cui tengo molto, ai quali tengo tantissimo.
พวกมันทั้งหมดนี้เป็นของขวัญที่แม่ของฉันให้มา ซึ่งฉันก็หวงมาก และฉันก็จะไม่ทิ้งมันแน่นอนค่ะ
– Em… sì, questo per esempio è un servizio normale, di ceramica, che uso tutti i giorni.
อืม… ใช่ค่ะ ตัวอย่างเช่นอันนี้ มันเป็นชุดจานเซรามิคธรรมดาที่ฉันใช้อยู่ทุกๆ วันค่ะ
– Quindi del quale ho bisogno tutti i giorni.
ซึ่งฉันจำเป็นต้องใช้มันทุกวันเลยค่ะ
– Diciamo molto semplice.
ก็พูดได้ว่ามันเรียบง่ายสะดวกมากค่ะ
– Poi ho per esempio il servizio di porcellana, sempre regalatomi da mia madre.
แล้วฉันก็มี ตัวอย่างเช่น ชุดจานเครื่องลายครามก็เป็นของขวัญที่แม่ของฉันมอบให้ฉันเหมือนกันค่ะ
– Sempre il piatto fondo, il piatto piano e il piattino da frutta.
เหมือนเดิมค่ะ จานก้นลึก จานแบน และจานเล็กใส่ผลไม้ค่ะ
– Questo è per quando ho dei ospiti speciali con i quali voglio fare bella figura.
ชุดนี้ใช้ตอนที่ฉันมีแขกพิเศษ ตอนที่ฉันอยากจะสร้างความประทับใจอ่ะค่ะ
– E poi ho anche un altro servizio di piatti, bicchieri ecc… speciale, per le persone con le quali voglio fare bella figura.
แล้วฉันก็ยังมีจานชุด ชุดแก้ว ฯลฯ โดยเฉพาะสำหรับพวกคนที่ฉันอยากจะสร้างความประทับใจดีๆ อ่ะค่ะ
– Alle quali voglio offrire un buon piatto di pasta, per esempio.
ตัวอย่างเช่น กับพวกคนที่ฉันอยากจะเตรียมพาสต้าจานอร่อยให้อ่ะค่ะ
– Eh… quindi sempre piatto piano e piatto fondo.
เอิม… ดังนั้น ก็เช่นเคย คือ จานแบนและจานก้นลึกค่ะ
– Questo ha anche il bicchiere abbinato.
อันนี้มันมีแก้วที่คู่กันด้วยค่ะ
– Questo servizio ha anche i bicchieri dello stesso colore e anche l’insalatiere.
จานชุดนี้ มันมีพวกแก้วและก็จานใส่สลัดที่มีสีเดียวกันด้วยค่ะ

– Sì, sì, no, sì, queste sono cose di cui ho davvero bisogno, che mi servono tanto.
ใช่ค่ะ ใช่ ไม่ค่ะ ใช่ ของพวกนี้เป็นของที่ฉันมีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ที่ฉันต้องใช้มันบ่อยๆ ค่ะ
– Poi per quando preparo gli spaghetti ho il piatto apposito per gli spaghetti, a cui non posso rinunciare.
แล้วตอนที่ฉันทำสปาเกตตี้ ฉันก็มีจานพิเศษ สำหรับใส่สปาเกตตี้โดยเฉพาะ ซึ่งขาดไม่ได้เลยค่ะ
-No, no, no, di questi piatti non butto via niente. È tutto utilissimo.
ไม่ค่ะ ไม่ ไม่ได้เลย จานพวกนี้ฉันทิ้งไม่ได้เลยค่ะ ทั้งหมดนี้มีประโยชน์มากๆ ค่ะ
-Poi i bicchieri. Vi ho fatto vedere quello per gli ospiti, diciamo abbinato ai piatti,
แล้วพวกแก้วเหล่านี้อีก ฉันให้พวกเธอดูไปแล้ว พวกแก้วที่ฉันให้แขกใช้ ก็พูดได้ว่ามันเข้าชุดกับพวกจานนั่นค่ะ
-poi ho il calice, diciamo per le occasioni speciali.
แล้วฉันก็มีแก้วไวน์อีก ก็ใช้ตอนโอกาสพิเศษค่ะ
-E per gli ospiti con cui voglio fare una gran bella figura.
ก็ใช้กับแขกที่ฉันอยากจะให้เขาเห็นว่า ฉันใช้ของดีอ่ะค่ะ
-Va bene, questo è utilissimo per quando voglio brindare.
โอเค แล้วอันนี้มันมีประโยชน์มากๆ ตอนที่ฉันอยากจะชนแก้วฉลองค่ะ
-Va bene. Poi vabbè, ho il mio bicchiere.
ก็นะ ช่างเถอะ ฉันก็มีแก้วของฉันอ่ะค่ะ
-Questo è il bicchiere che uso tutti i giorni, dal quale bevo ogni giorno.
นี่คือแก้วที่ฉันใช้ทุกวัน ใบที่ฉันใช้ดื่มทุกๆ วันค่ะ
-E di quelli così un po’ spartani che regalano insieme alla crema spalmabile.
แล้วพวกนี้ก็เหมือนจะเป็นกฏเกณฑ์ ที่จะแถมมาคู่กับพวกครีมทาอ่ะค่ะ
-Ed è molto carino, è tutta una serie.
แล้วมันก็น่ารักมากด้วย หมดนี่ก็เป็นชุดนึงค่ะ
-E poi questo è il bicchierino per il liquore, dopo pranzo e dopo cena.
แล้วนี่คือแก้วเล็กสำหรับดื่มเหล้าหลังอาหารกลางวันและหลังอาหารเย็นค่ะ
-Sì sì, no i bicchieri vanno bene. Sì, mi servono tutti.
ค่ะๆ ไม่นะ แก้วเหล่านี้มันดี ค่ะ ฉันใช้มันทั้งหมดเลยค่ะ
-Per finire le caffettiere, ne ho diverse.
มาจบกันด้วยเครื่องต้มกาแฟเหล่านี้ค่ะ ฉันมีหลายแบบเลยค่ะ
-Da due o da tre, questa è per una sola persona.
สำหรับสองถ้วยหรือสามถ้วย อันนี้เอาไว้ต้มดื่มคนเดียวค่ะ
-Eh sì sì sì. Sì, mi serve tutto ragazzi.
ค่ะ ฉันใช้มันทั้งหมดนี่เลยค่ะ
-Allora, lo sapevo, anno nuovo vita vecchia.
เอาหล่ะ ฉันก็รู้อยู่แล้วค่ะว่า ปีใหม่กับชีวิตแบบเดิมค่ะ
-Il mio problema, che come vi ho detto è esposto nel punto 9 della scorsa lezione,
ปัญหาของฉัน ก็อย่างที่ฉันได้บอกกับพวกเธอไปแล้ว มันโชว์อยู่ในข้อ 9 ของบทเรียนที่ผ่านมาอ่ะค่ะ
-è che sto uscendo io di casa per far spazio alle tante cose.
คือ ฉันจะต้องออกจากบ้านไป เพื่อจะได้มีพื้นที่สำหรับของมากมายเหล่านี้ค่ะ
-E per fortuna non vi ho portato a vedere il mio armadio.
โชคดีที่ฉันไม่พาพวกเธอไปดูตู้เสื้อผ้าของฉัน
-Perché tra vestiti e scarpe, per i quali ci sarebbe voluta una lezione di due giorni consecutivi.
เพราะว่ามีเสื้อผ้า และรองเท้ามากมาย คงจะเป็นบทเรียนที่ใช้เวลาสองวันติดกันค่ะ
-Sarebbe diventata un’odissea, non più una lezione.
มันคงจะยาวเกินไป คงไม่ใช่บทเรียนแล้วหล่ะค่ะ
-E questi sono i motivi per i quali, le ragioni per le quali io ho scritto l’altra volta il punto 9.
นี่คือสาเหตุที่ เหตุผลที่ฉันเขียนไว้ครั้งก่อนในข้อ 9 อ่ะค่ะ
-Proprio perché dovrei dedicarmi a tenere soltanto il necessario, l’indispensabile, ma non ce la faccio.
เพราะว่าฉันควรจะเก็บเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น เก็บแค่ของที่ไม่มีไม่ได้ แต่ฉันก็ทำไม่ได้ค่ะ
-Ehm diciamo, non sono così.
อืม ก็พูดได้ว่า ฉันไม่ใช่แบบนี้นะคะ
-Va bene, dopo questa perdita di tempo ragazzi, speriamo di avervi insegnato qualcosa.
ค่ะ หลังจากการเสียเวลาครั้งนี้ เพื่อนๆ คะ ก็หวังว่าจะได้สอนอะไรให้กับพวกเธอไปแล้วค่ะ
-Almeno abbiamo imparato qualcosa. Sì, abbiamo imparato tanto.
อย่างน้อย พวกเราก็ได้เรียนอะไรบางอย่างไปแล้วค่ะ ใช่ค่ะ เราได้เรียนไปแล้วเยอะเลยค่ะ
-Per esempio i pronomi relativi. Ma, Veronica, li hai fatti l’altra volta?!
ตัวอย่างเช่น คำสรรพนาม relativi แต่ว่า เวโรนิค่ะ เธอสอนไปแล้วเมื่อครั้งที่แล้วนะคะ
– Aspettate, l’altra volta abbiamo visto il pronome relativo che. Ok?
พวกเธอรอกันก่อนค่ะ ครั้งที่แล้วพวกเราได้เรียนเรื่องคำสรรพนาม relativo คำว่า che กันไปแล้ว โอเคนะคะ
– Adesso li vediamo un po’ tutti o quasi.
ตอนนี้พวกเรามาดูพวกมันทั้งหมดหรือเกือบหมดกันอีกนิดค่ะ
– Benissimo.
ดีมากค่ะ

– Dovete prima di tutto rivedere le lezioni 12, 13 e 53, che è la scorsa.
ก่อนอื่นเลยนะคะ พวกเธอต้องกลับไปดูบทเรียนที่ 12, 13 และ 53 ซึ่งก็คือบทเรียนที่แล้วซ้ำกันก่อนนะคะ
– Scusate.
ไอ…ขอโทษพวกเธอด้วยนะคะ
– Va bene. Perfetto.
โอเค เยี่ยมค่ะ
– Sì, avrei potuto bere il vino, ma ho preferito bere l’acqua.
ค่ะ ตอนนั้นฉันจะดื่มไวน์ก็ได้ แต่ว่าฉันชอบดื่มน้ำมากกว่าค่ะ
– Allora, vediamo l’altra volta abbiamo visto il che.
เอาหล่ะค่ะ พวกเรามาดูกัน ครั้งที่แล้วพวกเราได้เรียนเรื่องการใช้ che
– Io vi ho fatto un esempio con il che.
ฉันได้ทำตัวอย่างการใช้ che ให้พวกเธอดูกันไปแล้ว
– E vi dico anche qualcosa che forse ho messo l’altra volta, vediamo un po’.
และฉันก็จะบอกอะไรบางอย่างกับพวกเธอ ที่บางทีฉันอาจได้ใส่ไว้ครั้งที่แล้วด้วยค่ะ พวกเรามาดูกันสักนิดค่ะ
– Allora, conosco un insegnante che lavora negli Stati Uniti.
เอาหล่ะค่ะ ฉันรู้จักอาจารย์คนนึงที่ทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา
– Sì, frase chiarissima.
ใช่ค่ะ ประโยคชัดเจนมากๆ ค่ะ
– E poi è chiara perché vi ricordate?
แล้วก็ มันชัดเจนเพราะว่า พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– L’insegnante, scritto.
คำว่า อาจารย์ เขียนแบบนี้
– Sì, l’insegnante è una parola che è rimane uguale al maschile e al femminile. Ok?
ใช่ค่ะ คำว่า อาจารย์ มันคือคำที่เขียนเหมือนกัน ทั้งเพศชายและเพศหญิงค่ะ โอเคนะคะ
– Solo che scritto così si capisce che è un uomo.
แค่เขียนแบบนี้ ก็เข้าใจได้ว่าเป็นผู้ชายค่ะ
– Oralmente invece, se io dico conosco un insegnante che lavora negli Stati Uniti, non si capisce se sia un uomo o una donna.
ส่วนเวลาที่พูด ถ้าฉันพูดว่า ฉันรู้จักอาจารย์คนนึงที่ทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา มันดูไม่ออกว่าเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิงอ่ะค่ะ
– Quindi a volte, per evitare delle ambiguità, specialmente, possiamo usare invece di che il quale.
ดังนั้นบางครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเคลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเราสามารถใช้คำว่า il quale แทน di che ได้ค่ะ
– Benissimo.
ดีมากๆ ค่ะ
– Conosco un insegnante il quale lavora negli Stati Uniti.
ฉันรู้จักอาจารย์ผู้ชายคนหนึ่ง ที่ทำงานอยู่ในสหรัฐอเมริกาค่ะ
– Va bene.
ดีค่ะ
– E se fosse una donna?
แล้วถ้าเป็นผู้หญิงหล่ะคะ
– Allora, se fosse una donna farei così.
เอาหล่ะค่ะ ถ้าตอนนั้นเป็นผู้หญิง ฉันก็น่าจะทำแบบนี้ค่ะ
– Conosco un’insegnante o direi conosco un’insegnante che lavora negli Stati Uniti,
ฉันรู้จักอาจารย์ผู้หญิงคนหนึ่ง หรือ ฉันควรพูดว่า ฉันรู้จักอาจารย์ผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในสหรัฐอเมริกา
però ovviamente cambierebbe solo nello scritto, perché l’apostrofo mi fa capire che è una donna. Ok?
แต่ว่า ชัดเจนค่ะว่า มันเปลี่ยนแค่ในภาษาเขียนค่ะ เพราะว่าจุดลูกน้ำ มันทำให้ฉันรู้ว่าเป็นผู้หญิง เข้าใจไหมคะ
– Però oralmente non si capirebbe se questo insegnante è un uomo o una donna.
แต่ว่าตอนเราพูดกัน มันก็จะไม่เข้าใจ ว่าอาจารย์คนนี้เป็นผู้ชายหรือว่าผู้หญิงค่ะ
– Anche qua stessa cosa.
ตรงนี้ก็เหมือนกันค่ะ
– Però qui, se dovesse essere una donna, io direi conosco un’insegnante la quale.
แต่ว่าตรงนี้ ถ้าเป็นผู้หญิง ฉันก็น่าจะพูดว่า ฉันรู้จักอาจารย์ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่ง
– Allora, qui sarebbe chiarissimo anche a livello orale.
เอาหล่ะค่ะ ตรงนี้มันก็น่าจะชัดเจนที่สุดในระดับภาษาพูดค่ะ
– La quale lavora negli Stati Uniti.
ที่หล่อนทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาค่ะ
– La frase però l’ho fatta continuare per farvi vedere un’altra cosa che forse ho messo l’altra volta.
แต่ว่าประโยคนี้ ฉันได้ทำมันให้ต่อยาวไปอีก เพื่อทำให้พวกเธอดูอีกอย่างนึง ซึ่งบางทีฉันได้ใส่ไว้ครั้งก่อนแล้วค่ะ
– Il che non significa che sia americano.
คำว่า che มันไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นผู้ชายชาวอเมริกัน (ลงท้ายด้วย -o) ค่ะ
– Va beh, ovviamente se fosse donna, che sia americana.
ก็โอเค ชัดเจนค่ะว่า ถ้าเป็นผู้หญิง ก็น่าจะเป็นผู้หญิงชาวอเมริกัน (ลงท้ายด้วย -a) ค่ะ
– Cambiamo anche l’aggettivo.
พวกเราก็เปลี่ยนคำขยายนามด้วยค่ะ
– Em, cosa significa questo “il che”?
อืม มันหมายถึงอะไรคะ คำว่า “il che”

– È come dire questo non significa quello che ho detto non significa che sia,
มันก็เหมือนกับการพูดว่า อันนี้ มันไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น ที่ฉันได้พูดไปแล้ว มันไม่ได้หมายความว่ามันน่าจะเป็น
– lasciate perdere questo che è un congiuntivo, lo vedremo nelle lezioni successive, ok, nelle prossime lezioni.
ปล่อยอันนี้ไปก่อนค่ะ มันคือ congiuntivo ค่ะ พวกเราค่อยมาดูมันในบทเรียนต่อไปค่ะ โอเค ในบทเรียนหน้าค่ะ
– Quindi il che in questo caso vuol dire questo, quello che ho detto non significa che sia americana.
ดังนั้นคำว่า il che ในกรณีนี้ มันหมายความว่า สิ่งนี้ค่ะ สิ่งนั้นที่ฉันได้พูดไปแล้ว มันไม่ได้แปลว่า เขาน่าจะเป็นผู้หญิงอเมริกันค่ะ
– Ok quindi a volte questo la quale o il quale, se fosse plurale invece sarebbe i quali o le quali,
โอเค ดังนั้น บางครั้งคำว่า la quale หรือว่า il quale นี้ ถ้ามันเป็นพหูพจน์ มันก็ควรเป็น i quali หรือว่า le quali ค่ะ
possono sostituire il che che abbiamo imparato l’altra volta, nella lezione 53.
พวกมันใช้แทนที่คำว่า il che ที่พวกเราได้เรียนกันไปเมื่อครั้งที่แล้ว ในบทเรียนที่ 53 ค่ะ
– E specialmente in casi in cui ci può essere un’ambiguità, come questo,
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มันคลุมเคลือ อย่างเช่นอันนี้
che se non lo vedo per iscritto non capisco se sia un uomo o una donna.
ถ้าฉันไม่เห็นในภาษาเขียน ฉันก็ไม่รู้ว่า เขาเป็นผู้ชายหรือว่าผู้หญิงค่ะ
– Bene, andiamo avanti.
ดีค่ะ พวกเราไปต่อกันค่ะ
– Abbiamo fatto un po’ di ripasso di che abbiamo visto però qualcosa di nuovo.
พวกเราก็ได้ทบทวนกันอีกนิด เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเราได้เรียนกันไปแล้ว แต่ก็มีสิ่งใหม่ด้วยค่ะ
– Perché questo il quale, la quale, i quali, le quali non l’ho detto l’altra volta.
เพราะคำว่า il quale, la quale, i quali และ le quali ครั้งที่แล้วฉันไม่ได้พูดถึงมันค่ะ
– Bene, vediamo vi leggo altri esempi.
ดีค่ะ พวกเรามาดูกันค่ะ ฉันอ่านตัวอย่างอื่นๆ ให้พวกเธอฟังอีกนะคะ
– Ho tanti amici con i quali esco spesso.
ฉันมีเพื่อนหลายคน ที่ออกไปเที่ยวด้วยกันบ่อยๆ ค่ะ
– Ho tante caffetterie, giusto per attenermi alla lezione di oggi, con le quali preparo un buon caffè.
ฉันมีหม้อต้มกาแฟหลายใบ ก็เพื่อให้มีแรงทำบทเรียนในวันนี้ค่ะ ซึ่งพวกมันก็ทำให้ฉันได้เตรียมกาแฟที่น่าอร่อยค่ะ
– Qui abbiamo sempre il quale, la quale, i quali, le quali, ma con la preposizione.
ตรงนี้ พวกเราก็มีคำว่า il quale, la quale, i quali และ le quali ตลอดค่ะ แต่ว่าใช้คู่กับคำบุพบทค่ะ
– Qua ho dato un’altra opzione, perché in entrambe le frasi, infatti l’ho scritto qua,
ตรงนี้ ฉันได้ให้ทางเลือกอื่นๆ ไว้ เพราะทั้งสองประโยคนี้ นี่ไงคะ ฉันได้เขียนมันเอาไว้ตรงนี้ค่ะ
posso dire benissimo “ho tanti amici con cui esco spesso”, “ho tante caffetterie con cui preparo un buon caffè”.
ฉันจะพูดว่า “ฉันมีเพื่อนหลายคน ที่ฉันมักจะออกไปเที่ยวด้วยกันบ่อยๆ”, “ฉันมีหม้อต้มกาแฟหลายใบ ที่มันทำให้ฉันได้เตรียมกาแฟที่อร่อย” ก็ได้ค่ะ
– Infatti questa è l’opzione che io vi consiglio di preferire, di utilizzare.
นี่ไงคะ นี่คือทางเลือกที่ฉันขอแนะนำให้พวกเธอเลือกใช้มากกว่าค่ะ
– Perché?
ทำไมคะ
– Allora, prima di tutto vediamo che differenza c’è tra questi pronomi relativi e il che
เอาหล่ะค่ะ ก่อนอื่นเลยนะคะ พวกเรามาดูกันค่ะว่า มันมีความแตกต่างอย่างไรระหว่างคำสรรพนาม relativi และคำว่า il che
– Io ovviamente qua non potrei dire “ho tanti amici che esco spesso”. No!
แน่นอนค่ะว่าตรงนี้ ฉันไม่สามารถพูดได้ว่า “ฉันมีเพื่อนหลายคนที่ฉันออกไปเที่ยวบ่อยๆ” ไม่นะคะ!
– Perché posso dire ho tanti amici che escono spesso, loro, ok?
เพราะฉันสามารถพูดได้ว่า ฉันมีเพื่อนหลายคนที่พวกเขาออกไปเที่ยวกันบ่อยๆ ใช้คำว่า พวกเขา เข้าใจไหมคะ
– Ma se c’è una preposizione, perché uscire con qualcuno,
แต่ว่าถ้ามีคำบุพบท เพราะว่าออกไปข้างนอกกับใครบางคน
ci sono persone che fanno purtroppo questo errore, anche italiani, e voi non dovete ripetere questo errore.
น่าเสียดายที่มีหลายคนที่ทำข้อผิดพลาดนี้ค่ะ แม้แต่คนอิตาลีก็ด้วยค่ะ และพวกเธอจะต้องไม่ทำข้อผิดพลาดนี้ซ้ำกันนะคะ
– Uscire con qualcuno, fare un caffè con la caffettiera.
ออกไปข้างนอกกับใครบางคน ต้มกาแฟด้วยหม้อต้มกาแฟค่ะ
– Va bene?
โอเคไหมคะ

– Siccome c’è questa preposizione, allora, o uso il pronome relativo cui, preceduto da preposizione semplice,
เนื่องจากมันมีคำบุพบทนี้ เอาหล่ะค่ะ จะใช้คำสรรพนามแบบ relativo คำว่า cui นำหน้าคำบุพบทธรรมดา
rivedete le preposizione semplice nella lezione 12, oppure, rivedete la lezione 13, uso le preposizione articolate.
พวกเธอไปดูพวกคำบุพบทแบบธรรมดาได้ในบทเรียนที่ 12 หรือไปดูบทเรียนที่ 13 การใช้คำบุพบทแบบที่ไปรวมกับคำนำหน้านามซ้ำได้อีกนะคะ
– Allora, in questo caso abbiamo con, che si divide dall’articolo, quindi ho bisogno di preposizione e articolo.
เอาหล่ะค่ะในกรณีนี้ พวกเรามีคำว่า con ที่มันแยกกันอยู่กับคำนำหน้านามค่ะ ดังนั้น ฉันจึงต้องใช้คำบุพบทและคำนำหน้านามค่ะ
– Vi faccio un altro, un altro esempio e poi vi spiego bene la regola.
ฉันจะให้พวกเธอดูอีกอันนะคะ อีกตัวอย่างนึงค่ะ แล้วฉันก็จะอธิบายให้พวกเธอฟังอย่างดีเกี่ยวกับกฎการใช้ค่ะ
– Allora, un cibo al quale non posso rinunciare è la pasta.
เอาหล่ะค่ะ อาหารอย่างนึงที่ฉันไม่สามารถขาดได้ มันคือพาสต้าค่ะ
– L’ho detto anche prima, è la pasta.
ฉันได้บอกมันไปแล้วก่อนหน้านี้ว่ามันคือพาสต้าค่ะ
– Una cosa alla quale tango è la cucina.
สิ่งนึงที่ฉันให้ความสนใจมากๆ คือห้องครัวค่ะ
– Allora, impariamo anche dei vocaboli nuovi.
เอาหล่ะค่ะ พวกเรามาเรียนพวกคำศัพท์ใหม่ๆ กันอีกค่ะ
– Tenere a qualcosa o a qualcuno significa che qualcosa o qualcuno sono importanti per noi.
ถืออะไรบางอย่าง หรือบางคน มันหมายความว่า อะไรบางอย่างหรือใครบางคนนั้น พวกมันหรือพวกเขามีความสำคัญมากๆ สำหรับพวกเราค่ะ
– Bene, tra parentesi.
ดีค่ะ ในวงเล็บค่ะ
– Siccome rinunciare a qualcosa, tenere a qualcuno.
เนื่องจาก ละทิ้งบางสิ่ง และยึดถือใครบางคน
– Anche qui ho bisogno, questi verbi hanno bisogno di una preposizione.
ตรงนี้ก็ด้วย ฉันจำเป็นต้อง พวกคำกริยาพวกนี้ มันจำเป็นต้องมีคำบุพบทค่ะ
– Quindi non potrei mai dire “un cibo che non posso rinunciare”.
ดังนั้น ฉันไม่สามารถพูดว่า “อาหารนึงที่ฉันไม่สามารถขาดได้” ค่ะ
– Oddio!!! Sì, purtroppo c’è gente che dice queste cose orribili.
โอ้ว!!! ใช่ค่ะ น่าเศร้าที่มีบางคนพูดแบบนี้ มันแย่มากๆ ค่ะ
– Ma non si dice.
อย่าพูดมันนะคะ
– Perché è rinunciare a qualcosa, non rinunciare qualcosa.
เพราะว่า ละเลิก a (ไปที่) อะไรบางอย่าง, ไม่ใช่ การละเลิกบางอย่างค่ะ
– Ok?
โอเคนะคะ
– Come uscire con qualcuno, non uscire qualcuno.
เหมือนกับการออกไปข้างนอกกับใครบางคน (ใช้ con) ไม่ใช่ การออกไปข้างนอกบางคนค่ะ
– E quindi mi serve il pronome relativo con la preposizione.
และดังนั้น ฉันต้องใช้คำสรรพนามแบบ relativo กับคำบุพบทค่ะ
– Ho sempre due opzioni.
ฉันก็มีสองทางเลือกเสมอค่ะ
– Non posso dire che, ma posso dire “un cibo a cui non posso rinunciare è la pasta”.
ฉันไม่สามารถพูดโดยใช้คำว่า che แต่ฉันสามารถพูดได้ว่า “อาหารอย่างนึง ที่ฉันไม่สามารถเลิกทานได้ คือพาสต้าค่ะ” ใช้คำว่า a cui
– Posso dire anche “una cosa a cui tengo è la cucina”. Ok?
ฉันจะพูดว่า “สิ่งนึงที่ฉันถือมากๆ คือห้องครัว” ก็ได้ค่ะ
– Allora io vi consiglio queste forme, quindi il pronome relativo cui preceduto da preposizione semplice,
เอาหล่ะค่ะ ฉันขอแนะนำให้พวกเธอใช้รูปแบบนี้นะคะ คือใช้คำสรรพนาม relativo คำว่า cui นำหน้าด้วยคำบุพบทธรรมดาค่ะ
lezione 12, proprio perché se usate quest’altra forma, ok, il linguaggio appare un po’ più accurato, ma non potete sbagliare.
อยู่ในบทเรียนที่ 12 เพราะว่าถ้าพวกเธอใช้รูปแบบอื่น ก็โอเค ภาษามันก็จะดูถูกต้องตามหลักมากขึ้น แต่ว่าพวกเธอห้ามใช้ผิดแบบนะคะ
– Quindi meglio usare un linguaggio più semplice ma corretto,
ดังนั้น มันก็จะดีกว่า ถ้าใช้ภาษาพูดแบบธรรมดา แล้วก็ใช้แบบถูกต้องค่ะ
che un linguaggio diciamo un pochino di livello più alto ma sgrammaticato, come fanno alcune persone per cercare di fare una bella figura inutilmente.
ก็มันเป็นภาษาแบบว่า ระดับสูงขึ้นไปแต่ผิดหลักไวยากรณ์ค่ะ เหมือนกับบางคนที่พยายามสร้างภาพว่าเก่งกว่าใช้ภาษาสูงโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ
– Poi che cercano di fare bella figura inutilmente,
เขาอยากจะโชว์ว่าตัวเองใช้ภาษาเก่ง แต่ก็เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์ค่ะ
parlo di alcuni italiani, che magari vogliono parlare… em… comunque va bene, ci sono persone italiane che purtroppo fanno degli errori.
ฉันพูดถึงคนอิตาลีบางคนนะคะ ที่บางทีพวกเขาอยากพูด… อืม… อย่างไรก็ตาม ช่างเถอะค่ะ น่าเศร้าที่มีคนอิตาลีบางคนที่ทำข้อผิดพลาดพวกนี้อ่ะค่ะ
– Allora quindi, se io dico con i quali è perfetto,
เอาหล่ะค่ะ ดังนั้น ถ้าฉันพูดว่า i quali มันถูกต้องสมบูรณ์แบบค่ะ
ma devo ricordarmi, dovete ricordavi che i quali, qui stiamo parlando di amici, maschile plurale.
แต่ฉันต้องจำไว้ว่า พวกเธอก็ต้องจำกันไว้ว่า i quali ตรงนี้ พวกเรากำลังพูดถึงเพื่อนหลายคน เพศชายพหูพจน์ค่ะ
– Le quali, stiamo parlando delle caffetterie, femminile plurale.
คำว่า le quali พวกเรากำลังพูดถึงพวกหม้อต้มกาแฟ ที่เป็นเพศหญิงพหูพจน์ค่ะ
– Ok?
โอเคนะคะ

– Quindi qua devo dire le quali, mi devo ricordare il genere e il numero delle cose in questione.
ดังนั้น ตรงนี้ ฉันต้องพูดว่า le quali ฉันต้องจำเพศและจำนวนของสิ่งที่พวกเราอ้างถึงด้วยค่ะ
– Idem qua.
ตรงนี้ก็เหมือนกันค่ะ
– Allora, poi ricordatevi, l’aggettivo quale, questo dovreste saperlo,
เอาหล่ะค่ะ แล้วพวกเธอก็จำอีกนะคะว่า คำขยายนามคำว่า quale พวกเธอต้องรู้จักมันด้วยค่ะ
non vi dico neanche cosa dovete rivedere, perché avere un livello B1
ฉันจะไม่บอกว่ามันคืออะไร พวกเธอต้องไปดูซ้ำกันเองค่ะ เพราะว่าเราอยู่ในระดับ B1 แล้วนะคะ
e dovete sapere benissimo, che l’aggettivo quale finisce con la e e quindi cambia solo due volte, non è qualo, quala, no!
และพวกเธอจะต้องรู้กันเป็นอย่างดีว่าคำขยายนามคำว่า quale มันลงท้ายด้วยตัว e และดังนั้น มันจะผันเปลี่ยนตามเพศและจำนวนได้แค่สองแบบ มันไม่มี qualo และ quala ค่ะ ไม่ใช่ค่ะ!
– Non esiste, ma quale al maschile o al femminile, e quali al plurale maschile.
มันไม่มีในโลกนี้ค่ะ มีแต่คำว่า quale ที่ใช้ได้กับเพศชายและเพศหญิงค่ะ และคำว่า quali ใช้กับพหูพจน์เพศชายค่ะ
– Quindi maschile singolare, femminile singolare.
ดังนั้น เพศชายเอกพจน์ เพศหญิงเอกพจน์ค่ะ
– Quali maschile plurale, femminile plurale.
คำว่า quali เพศชายพหูพจน์ เพศหญิงพหูพจน์ค่ะ
– Ok, quindi cambia due volte.
โอเค ดังนั้น มันเปลี่ยนได้แค่สองแบบค่ะ
– Tra parentesi.
ในวงเล็บนะคะ
– E quindi devo ricordarmi il genere e il numero, oltre alla preposizione.
และดังนั้น ฉันต้องจำเพศ จำนวน และคำบุพบทด้วยค่ะ
– Mi devo ricordare bene la preposizione articolata, il genere e il numero
ฉันต้องจำคำบุพบทแบบที่มันไปรวมกับคำนำหน้านามให้ได้ดี จำเพศและจำนวนให้ดีด้วย
e dovete ricordarvelo immediatamente, perché se state parlando la cosa dov’essere immediata.
และพวกเธอต้องจำมันให้ได้ทันทีนะคะ เพราะว่าถ้าพวกเธอกำลังพูดถึงมันอยู่ ก็ต้องรู้ทันทีว่ามันมีเพศและจำนวนเท่าไหร่ค่ะ
– Quindi, anche questo non è facilissimo, perché questo pronome relativo non è facilissimo.
ดังนั้น สิ่งนี้ก็ด้วยค่ะ มันไม่ได้ง่ายเลยค่ะ เพราะคำสรรพนามแบบ relativo มันไม่ง่ายเลยค่ะ
– Perché dovete ricordarvi la preposizione diciamo giusto per il verbo che state utilizzando. Ok?
เพราะว่าพวกเธอต้องจำคำบุพบทที่ถูกต้อง ที่ใช้กับคำกริยานั้นที่พวกเธอกำลังใช้กันอยู่ค่ะ
– Per esempio, ok questo è abbastanza facile perché uscire con gli amici.
ตัวอย่างเช่น โอเค อันนี้มันค่อนข้างง่าย เพราะว่าการออกไปข้างนอกกับพวกเพื่อนๆ ใช้ con
– Ma rinunciare a qualcosa.
แต่ว่าการละทิ้งไปที่อะไรบางอย่าง ใช้ a
– Tenere a qualcosa o qualcuno.
การถือไปที่บางอย่าง หรือไปที่ใครบางคน ใช้ a
– Ok?
เข้าใจไหมคะ
– Quindi sì, non è facilissimo, ma è molto più facile di questa opzione.
ดังนั้น ใช่ค่ะ มันไม่ง่ายเลยค่ะ แต่มันก็ง่ายกว่าทางเลือกนี้ค่ะ
– Andiamo avanti e vediamo altri esempi.
พวกเราไปต่อกันค่ะ และก็มาดูตัวอย่างอื่นๆ กันค่ะ
– Una cosa della quale non posso fare a meno è il caffè.
สิ่งนึงที่ฉันไม่มีไม่ได้ คือ กาแฟค่ะ
– Lo sapete, gli italiani la pensano così.
ก็อย่างที่พวกเธอทราบ พวกคนอิตาลีเขาก็คิดกันแบบนี้ค่ะ
– Le persone delle quali mi fido sono poche, purtroppo!
ผู้คนที่ฉันเชื่อใจมีน้อย น่าเศร้าใจค่ะ
– Fidarsi è bene, non fidarsi è meglio si dice.
การเชื่อใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่เชื่อมันจะดีกว่าค่ะ เขาก็พูดกันแบบนี้ค่ะ
– Bene, anche qui abbiamo l’altra opzione di cui che mi salva in tutte le situazioni.
ดีค่ะ ตรงนี้ก็เหมือนกันค่ะ เราก็มีอีกทางเลือก คือ คำว่า di cui มันช่วยฉันได้ในทุกๆ สถานการณ์เลยค่ะ
– Aspettate non in tutte tutte.
รอก่อนค่ะ มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดซะทีเดียว
– Però mi salve nel caso del maschile singolare, maschile plurale, femminile, ok, maschile singolare, maschile plurale, femminile singolare e femminile plurale.
แต่ว่า มันช่วยฉันในกรณีของเพศชายเอกพจน์ เพศชายพหูพจน์ เพศหญิง โอเค เพศชายเอกพจน์ เพศชายพหูพจน์ เพศหญิงเอกพจน์ และเพศหญิงพหูพจน์ค่ะ
– Quindi posso dire tranquillamente “una cosa di cui non posso fare a meno è il caffè”.
ดังนั้น ฉันสามารถพูดได้แบบสบายๆ ว่า “สิ่งหนึ่งที่ฉันไม่สามารถขาดได้ ก็คือ กาแฟค่ะ”

– “Le persone di cui mi fido sono poche”.
“ผู้คนที่ฉันเชื่อใจมีน้อยค่ะ”
– Quindi quando c’è la preposizione di e ci va un pronome relativo, va benissimo anche così.
ดังนั้น เมื่อไหร่ที่มันมีคำบุพบท di และตามด้วยคำสรรพนาม relativo ก็ใช้แบบนี้ได้เลยค่ะ
– Così non devo pensare se è maschile singolare, maschile plurale, femminile singolare o femminile plurale.
แบบนี้ฉันก็ไม่ต้องคิดว่า มันเป็นเพศชายเอกพจน์ เพศชายพหูพจน์ เพศหญิงเอกพจน์ หรือว่าเพศหญิงพหูพจน์ค่ะ
– Bene, perché fidarsi di qualcuno.
ดีค่ะ เพราะว่า การทำให้ตัวเองเชื่อใจเกี่ยวกับใครบางคน ใช้ di ค่ะ
– Em… qua scusate, fare a meno di qualcosa o di qualcuno.
อืม… ตรงนี้ ขอโทษพวกเธอด้วยค่ะ การทำให้น้อยลงเกี่ยวกับอะไรบางอย่าง หรือบางคนค่ะ
– Bene, qua invece abbiamo la preposizione per.
ค่ะ ส่วนตรงนี้ พวกเราจะใช้คำบุพบท per ค่ะ
– Infatti io ho detto “le ragioni per le quali”.
นี่ไงคะ ฉันได้บอกไปแล้วว่า “เหตุผลต่างๆ ที่ซึ่ง”
– Allora questa è una frase che significa la stessa cosa, però qua parliamo di ragioni e qua invece di motivi.
เอาหล่ะค่ะ นี่เป็นประโยคที่มีความหมายเดียวกัน แต่ว่าตรงนี้ พวกเราพูดถึงเหตุผลต่างๆ (เพศหญิง พหูพจน์) และตรงนี้เป็นสาเหตุต่างๆ ค่ะ (เพศชาย พหูพจน์)
– Che più o meno sono sinonimi, ma le ragioni è femminile plurale, i motivi è maschile plurale.
โดยประมาณแล้ว พวกมันมีความหมายเหมือนกัน แต่คำว่า le ragioni มันเป็นเพศหญิง พหูพจน์ คำว่า i motivi มันเป็นเพศชาย พหูพจน์ค่ะ
– Quindi le ragioni per le quali faccio tutto ciò.
ดังนั้น พวกเหตุผลต่างๆ ที่ฉันทำทั้งหมดนี้
– Un’altra cosa che impariamo tutto ciò significa tutto questo.
อีกอย่างที่พวกเราเรียนกัน คือ คำว่า tutto ciò มันหมายความว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้ค่ะ
– Va bene?
โอเคไหมคะ
– È la stessa cosa.
มันมีความหมายเดียวกันค่ะ
– Per esempio, per i motivi… “le ragioni per le quali faccio tutto ciò sono tante”.
ตัวอย่างเช่น สำหรับสาเหตุต่างๆ… “พวกเหตุผลต่างๆ ที่ฉันทำทั้งหมดนี้ มันมีเยอะมากค่ะ” (พวกเหตุผลใช้ per le quali)
– Posso dire i motivi, ma per i quali, qua cambiamo perché è maschile plurale, faccio tutto ciò sono tanti.
ฉันจะพูดว่า พวกสาเหตุต่างๆ ก็ได้ ก็แค่ใช้ per i quali ค่ะ พวกเราเปลี่ยนเพศตรงนี้ เพราะว่ามันเป็นเพศชายพหูพจน์ค่ะ ฉันทำทั้งหมดนี้ ซึ่งก็มีเยอะมากค่ะ
– Vedete anche le ragioni sono tante, i motivi sono tanti.
พวกเธอดู le ragioni sono tante (ลงท้ายด้วย e), i motivi sono tanti (ลงท้ายด้วย i) ค่ะ
– Io a tutto questo posso sostituire con le ragioni per cui faccio tutto ciò sono tante,
ฉัน ที่ทั้งหมดนี้ ฉันจะใช้ per cui แทนก็ได้ พวกเหตุผลต่างๆ ที่ฉันทำทั้งหมดนี้ มันมีเยอะมากค่ะ ใช้ le ragioni
ricordatevi però di declinare l’aggettivo, i motivi per cui faccio tutto ciò sono tanti.
อย่าลืมผันคำขยายนามตามเพศและจำนวนนะคะ เหตุผลต่างๆ ที่ฉันทำทั้งหมดนี้ มันมีเยอะมากค่ะ ใช้ i motivi
– Bene.
ดีค่ะ
– Spero di non coprire le frasi con gli oggetti.
ฉันหวังว่าของพวกนี้จะไม่บังพวกประโยคต่างๆ นะคะ
– Li sposto un attimo perché non va bene.
ฉันย้ายพวกมันแป๊ปนึง เพราะว่ามันไม่ควรอยู่ตรงนี้ค่ะ
– Allora, ho tante…
เอาหล่ะค่ะ ฉันมีเยอะมาก…
– Qua vediamo l’ultimo, l’ultimo esempio, la preposizione tra per esempio.
ตรงนี้ พวกเรามาดูข้อสุดท้ายกันค่ะ ตัวอย่างสุดท้าย คำบุพบท tra ตัวอย่างเช่น
– Ho tante pentole, e ve lo fatte vedere.
ฉันมีหม้อเยอะมาก และฉันโชว์มันให้พวกเธอดูด้วยค่ะ
– Tra le quali i tegami, il tegame è questo, l’abbiamo visto altre volte, e le padelle.
ในกลุ่มหม้อนี้ ก็มีหม้อใบเล็กๆ หม้อใบเล็กๆ ก็คืออันนี้ค่ะ พวกเราได้เห็นมันไปเมื่อครั้งที่แล้ว และพวกกระทะต่างๆ ค่ะ
– Ok.
โอเค
– Poi un’altra frase, diciamo un altro esempio, ” ho tanti amici tra i quali molti stranieri”.
แล้วก็อีกประโยคนึงคะ ก็พูดได้ว่า อีกตัวอย่างนึง “ฉันมีเพื่อนหลายคน ซึ่งในกลุ่มนี้ก็มีเพื่อนชาวต่างชาติหลายคนค่ะ”
– Va bene?
เข้าใจไหมคะ
– Io in queste situazioni, in entrambi i casi posso dire tra cui.
ฉัน ในสถานการณ์ต่างๆ นี้ ทั้งสองกรณี ก็ใช้ tra cui ได้ค่ะ
– Ho tante pentole tra cui tegami e padelle.
ฉันมีหม้อหลายใบ ซึ่งในกลุ่มนั้นก็มีพวกหม้อใบเล็กๆ และพวกกระทะอยู่ด้วยค่ะ

– Ho tanti amici tra cui molti stranieri.
ฉันมีเพื่อนหลายคน ซึ่งในกลุ่มนั้น ก็มีเพื่อนชาวต่างชาติหลายคนเลยค่ะ
– Perché?
ทำไมคะ
– Perché tra le quali ok?
เพราะคำว่า tra le quali โอเคไหมคะ
– Perché le pentole.
เพราะว่าพวกหม้อต่างๆ เป็นเพศหญิง พหูพจน์ค่ะ
– Ma tra i quali, gli amici.
แต่ว่า tra i quali พวกเพื่อนๆ เป็นเพศชาย พหูพจน์ค่ะ
– Se dico tra cui mi devo solo ricordare che la preposizione in questi casi è tra e poi segue cui.
ถ้าฉันพูดว่า tra cui ฉันต้องจำแค่คำบุพบท ในกรณีพวกนี้ ก็คือ tra แล้วก็ตามด้วย cui ค่ะ
– Benissimo, quindi anche oggi, dopo la mia perdita di tempo cercando di eliminare oggetti quasi inutili,
เยี่ยมมากค่ะ ดังนั้น วันนี้ก็ด้วยค่ะ หลังจากที่เสียเวลา พยายามกำจัดสิ่งของต่างๆ ที่แทบจะไม่มีประโยชน์ เลย
abbiamo imparato tanto, abbiamo imparato tante cose.
พวกเราก็ได้เรียนรู้มากมาย พวกเราได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมากมายเลยค่ะ
– Eh… va bene, abbiamo visto, sì, abbiamo visto tutto quanto.
เอิม… โอเค พวกเราได้เห็นกันไปแล้ว ใช่ค่ะ พวกเราได้เรียนกันไปหมดแล้วค่ะ
– Quindi abbiamo visto che tra questa forma e quest’altra non c’è nessuno differenza,
ดังนั้น พวกเราได้เห็นว่า ในรูปแบบนี้ และอีกรูปแบบนึง มันไม่มีความแตกต่างกันเลยค่ะ
però questa è più semplice e vi consiglio di usarla maggiormente.
แต่ว่าอันนี้มันง่ายกว่า และฉันก็ขอแนะนำให้พวกเธอใช้มันบ่อยๆ นะคะ
– Eh va bene, spero che continuerete a seguirmi.
ค่ะ โอเคค่ะ ฉันหวังว่าพวกเธอจะติดตามฉันกันต่อไปนะคะ
– Su oneworlditaliano.com
ที่ oneworlditaliano.com ค่ะ
– Ci saranno delle nuove e bellissime lezioni a cui o alle quali non potrete rinunciare.
มันจะมีสิ่งใหม่ๆ และบทเรียนดีๆ ที่พวกเธอไม่สามารถจะเลิกเรียนได้ค่ะ
– Ciao a tutti.
สวัสดีค่ะทุกๆ คน
– Tanti auguri per il nuovo anno e alla prossima!!!
ฉันขอให้คำอวยพรต่างๆ มากมายสำหรับปีใหม่นี้ และพบกันใหม่ค่ะ
– Ciao!!!
บ๊ายบาย!!!

เราเรียนอยู่ในระดับ B1 แล้วนะคะ นั่นแสดงว่า เราต้องพูดได้ และฟังออกด้วยนะคะ เพราะฉะนั้น หลังจากที่เรียนบทเรียนนี้จบแล้ว
1.ก็ควรไปฟังครูอิตาลีคนอื่นๆ ที่เขาสอนเรื่องนี้อีก ที่ยูทูป แล้วก็อย่าลืมจดลงสมุดด้วยนะคะ
2.ต้องฟังออก จดสิ่งที่ได้ยินลงสมุดได้ และต้องพูดตามเขาทันทุกคำด้วยค่ะ ถ้ายังไม่ทันก็ดูวิดีโอซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะพูดตามได้ทันค่ะ
3.ถ้าเริ่มงง และรู้สึกว่าการเรียนเริ่มยากไปแล้ว ให้กลับไปเรียนซ้ำทุกอย่างที่เราเคยเรียนไปแล้วในวันก่อนๆ ค่ะ
จำสุภาษิตที่ว่า “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” ได้ไหมคะ เราไม่ควรรีบร้อนเรียนค่ะ เพราะว่าการเรียนแบบเร็วๆ มันจะทำให้เราจำได้ไม่หมด ตกหล่นหลายสิ่งหลายอย่าง แล้วก็จะทำให้เราหงุดหงิดและปวดหัวเปล่าๆ ค่ะ

ท้ายสุดนี้ ก็ไม่ลืมที่จะขอบคุณน้องมายด์ ที่ตั้งใจเรียน และตั้งใจแปลวิดีโอนี้มาให้พวกเราได้เรียนกันแบบสะดวกสบายมากขึ้นค่ะ ตอนนี้น้องมายด์เริ่มสอนภาษาอิตาลีแล้ว ยาก็ขอเชิญให้ทุกคนไปดูที่เพจของเธอกันค่ะ

เรียนภาษาอิตาเลียนด้วยตัวเอง (สมุดส่งการบ้าน)

เพิ่มเติม

เรียนภาษาอิตาลี

 

ชีวิตหญิงไทยในต่างแดน เฟสบุ๊คเพจ 

โปรดลงทะเบียนเพื่อรับThai Women Living Abroad ข่าวสารใหม่อย่างต่อ

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s